4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management procedure)

ผศ.พิมพา สุวรรณฤทธิ์

2.3 ขั้นตอนการจัดการความรู้

ดังได้กล่าวแล้วว่าการจัดการความรู้ต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเสมอ ดังนั้นในขั้นตอนการจัดการความรู้จึงมีขั้นตอนดังนี้
1) กำหนดประเด็นหรือเรื่องของการจัดการความรู้ หมายถึงการกำหนดว่าจะจัดการความ เรื่องใดหรือเรื่องอะไร
2) ตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะจัดการความรู้เรื่องนั้นเพื่ออะไร และจะ จัดการให้ได้ผลเพียงใด ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บเป็นบาดแผลแม้เพียงเล็กน้อย ผู้บาดเจ็บก็ต้องการรักษาบาดแผลให้หายโดยเร็ว ทั้งผู้บาดเจ็บก็ต้องการรู้ว่ามียาหรือวิธีใดรักษาบาดแผลได้ จะหายานั้นได้จากที่ไหนจะใช้ยานั้นด้วยวิธีใด มากน้อยเพียงใด และจะมีผลอื่นแทรกซ้อนหรือไม่ จะป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อย่างไร ตัวอย่างนี้ในทางการจัดการความรู้ก็คือผู้บาดเจ็บมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการแสวงหาความรู้หรือใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วเพื่อ เป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่า เพื่อรักษาบาดแผลให้หายโดยไม่ให้มีอาการแทรกซ้อนได้อีกโดยเร็วที่สุด เขาจึงต้องการความรู้หลายอย่างกิจกรรมหลายอย่างมาใช้ผสมผสานกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แล้เป้าหมายนั้น
3) แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากแหล่งต่าง ๆ
4) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของความรู้ที่ต้องการใช้ว่าเรื่องใดต้องการ ก่อนหลัง เช่นถ้าได้รับอุบัติเหตุมีเลือดออก ก็ต้องการความรู้ในการหยุดการไหลออกของเลือดก่อน เป็นต้น
5) ผสมผสานความรู้เข้าด้วยกันอย่างมีความเหมาะสมโดยอาศัยกระบวนการคิดเป็น กิจกรรมสำคัญ และลงท้ายด้วยการสรุปและตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการให้ได้ผลออกมา
6) ลงมือปฏิบัติการ (actions) กิจกรรมนี้อาจจะปฏิบัติตั้งแต่ขั้นแรกแล้วเปลี่ยนตามลำดับ ขั้นตอนเรื่อย ๆ
7) สังเกตผลจากการปฏิบัติว่าเกิดหรือได้รับสิ่งที่คาดหวังหรือมุ่งหวังหรือไม่ หากได้ผล ตามที่มุ่งหวังก็ดำเนินการทางปฏิบัติต่อไปแต่หากผลไม่ตรงตามที่คาดหวังหรือผิดเพี้ยนไปก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่าต้องใช้ความรู้เรื่องใดมาใช้ประกอบเพิ่มขึ้นอีกนำมาพิจารณาแล้วตัดสินใจปฏิบัติการอีก
8) แสดงออกต่อผลลัพธ์ที่ได้นั้นออกมาว่า พอใจ หรือไม่พอใจ


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008