4000107 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
Information Technology for Life

3 (2 - 2)

ผู้สอน : รศ จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์(Hardware)

ฮาร์ดแวร์หรือส่วนประกอบของตัวเครื่อง (Hardware)  หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต่อเข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประมวลผล ได้แก่
1. เครื่องบันทึกข้อมูล (Data Entry Equipment) ได้แก่  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียม และบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการ ประมวลผล  เช่น เครื่องเจาะบัตร (Card Punch) เครื่องบันทึกข้อมูลลงเทป  (Key-to-Tape) เครื่องบันทึกข้อมูลลงจานข้อมูล  (Key-to-Disk) เป็นต้น
2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ อุปกรณ์ส่งข้อมูลเข้าสู่  เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเครื่องอ่านจานข้อมูล (Disk Drive)  เครื่องอ่านเทป (Tape Reader) แป้นพิมพ์ข้อมูล (Keyboard)  เป็นต้น
3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)  หมายถึง  ส่วนที่ ทำการประมวลผล เป็นศูนย์กลาง การควบคุม  การทำงานของคอมพิวเตอร์  โดยวิธีการ ควบคุมการทำงานให้ สอดคล้องกัน ประกอบด้วย
3.1 รีจีสเตอร์ (Register) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่ง   ซึ่งเป็นที่ เก็บข้อมูลอยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ก่อนที่  หน่วยประมวลผลกลาง จะทำการ ประมวลผลจะต้องเรียกข้อมูล และโปรแกรมจากหน่วยความจำหลัก มาเก็บไว้ในรีจีสเตอร์ก่อน
3.2 หน่วยควบคุม (Control Unit) มีหน้าที่ควบคุมการทำงาน  ทั้งหมด ได้แก่ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรก ควบคุมการทำงานของหน่วยรับ และแสดงผลข้อมูล ควบคุม การรับและส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลักกับรีจีสเตอร์
3.3 หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logical  Unit) เรียกย่อว่า ALU มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการ ทางคณิตศาสตร์และตรรก
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้แสดง  ผลลัพธ์ที่ได้ จากการประมวลผลกลาง เพื่อให้ผู้ใช้ ได้เห็นหรือ  เก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในสื่อเก็บข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk Drive)
5. หน่วยความจำ (Memory Unit) แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง หน่วยความจำหลัก มี 2 อย่าง คือ หน่วยความจำชนิดอ่าน และเขียน (RAM หรือRandom Access Memory) หมายถึง  หน่วยความจำที่สามารถ  บันทึกข้อมูล หรือคำสั่งได้ ซึ่งข้อมูล  ที่ถูกบันทึกนี้สามารถจะเรียกมาใช้งานหรือแก้ไขได้ หน่วยความจำ ชนิดนี้จะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยง ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  หรือไฟตก ข้อมูลหรือคำสั่ง ที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะถูกลบหายหมด

หน่วยความจำหลักอีกลักษณะหนึ่งคือ หน่วยความจำชนิดอ่านอย่างเดียว (ROM  หรือ Read Only Memory) หมายถึง  หน่วยความจำ ที่เก็บ ข้อมูลหรือคำสั่งอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ ข้อมูลหรือ  คำสั่งที่ถูกเก็บอยู่ใน หน่วยความจำชนิดนี้จะยังคงอยู่ได้ตลอดเวลา แม้ปิดเครื่อง คอมพิวเตอร์หรือไฟตก ปกติแล้วข้อมูลที่เก็บบันทึกจะเกี่ยวกับการตรวจสอบ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่ง  ทางโรงงานผู้ผลิตเครื่องจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลมาให้ สำหรับหน่วยความจำสำรอง หมายถึง หน่วยความจำภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สื่อสารต่าง ๆ  ที่ให้เก็บข้อมูลเพิ่ม จากหน่วยความจำหลัก เช่น จานแม่เหล็ก (Disk) แถบบันทึก (Tape) เป็นต้น

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 7 มิถุนายน 2546
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com