1635206 การจัดการข้อมูลและศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
Information Management and Local Information Centers
3(2-2)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2544

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพมหานคร

chumpot@hotmail.com

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น (Local Information Center)

ข้อมูลท้องถิ่น

ข้อมูลท้องถิ่น เมื่อนำมาแยกมีคำว่า "ข้อมูล" และ "ท้องถิ่น" สามารถให้คำจำกัดความของแต่ละคำได้ดังนี้
"ข้อมูล" มีคำจำกัดความว่า ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง มักมีความหมาย ในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ เป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ การกระทำ หรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ หรือเสียง
"ท้องถิ่น" มีคำจำกัดความ หมายถึง เมือง ชนบท จังหวัด หรือมีการแบ่งเขตท้องถิ่นตามลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยแบ่งเป็นภาค เช่น ภาคเหนือ ภาคกลาง หรือภาคเหนือตอนบนเรียกว่า"ล้านนา" เป็นต้น

เมื่อนำทั้ง 2 คำ มารวมกันเป็นคำว่า "ข้อมูลท้องถิ่น" หมายถึง เรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาบันทึกไว้ในเอกสารสิ่งพิมพ์ เอกสารต้นฉบับ และโสตทัศนวัสดุ ในรูปของตัวหนังสือ ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ และเสียง

ความสำคัญของข้อมูลท้องถิ่น มีดังนี้

    1. ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น
    2. ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
    3. ให้ความรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่น
    4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ที่ผ่านมาของท้องถิ่นนั้น ๆ
    5. ให้ความรู้ทางด้านการเมืองการปกครอง
    6. ให้คนรุ่นหลัง ได้ตระหนักถึงความเป็นท้องถิ่นของตน

ผู้จัดทำ

    นางกานดา ลือกาญจนวนิช
    นางสาววิไลรัตน์ สิงหภาณุพงษ์
    นางวารีพร ศักดิ์สมบูรณ์
    นางสาวสุภาภรณ์ วัดอ่อน
    นายมงคล พิพิธไพบูลย์


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com