1635206 การจัดการข้อมูลและศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
Information Management and Local Information Centers
3(2-2)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2544

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพมหานคร

chumpot@hotmail.com

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น (Local Information Center)

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น หมายถึง สถานที่ ๆ เป็นที่เก็บรวบรวม สรรพวัสดุ หลักฐาน เรื่องราว ภูมิปัญญาต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้น ๆ แหล่งประเภทนี้บางท้องถิ่นอาจไม่มี บางท้องถิ่นอาจมี และ มีทั้งที่เป็นทางการ (Official) และไม่เป็นทางการ (non official)

สารสนเทศท้องถิ่น (Local Information)

    1. อาณาบริเวณหรือพื้นที่ (Area) ซึ่งไม่อาจกำหนดขอบเขตได้อย่างชัดเจนแน่นอน อาจมีลักษณะทางธรรมชาติเป็นตัวกำหนด อย่างหลวม ๆ ได้เช่น มีแม่น้ำ ลำคลอง ภูเขา ท้องทุ่ง หรือป่า และมิได้แบ่งตามลักษณะเขตการปกครอง แต่อาจมีพื้นที่ซ้อนทับกับเขตการปกครองด้วย
    2. ทรัพยากรในอาณาบริเวณ (Natural resources) ทุกเขตพื้นที่หรือท้องถิ่นจะมีทรัพยากรทางธรรมชาติด้วยกันทั้งนั้นมากหรือน้อยแตกต่างกัน และยังแตกต่างกันด้วยประเภทและชนิดของทรัพยากรอีกด้วย เช่น บางท้องถิ่นไม่มีภูเขา ป่าไม้ มีแต่ทุ่งนา ลำคลอง เป็นต้น รวมทั้งสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย
    3. สภาพภูมิอากาศและกาลอากาศ (Climate & Weather) หมายถึง ระดับอุณหภูมิซึ่งเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละรอบปีปริมาณน้ำฝนที่ตก ความชื้น แสงแดด ที่ดำรงอยู่ในอาณาบริเวณนั้น ๆ
    4. คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในอาณาบริเวณนั้น คนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เรียกว่าท้องถิ่นได้ เพราะคำว่าท้องถิ่นจะหมายถึงกิจกรรม ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวข้องกันในการดำรงชีวิตอย่างคนหรือที่เรียกว่าวัฒนธรรม
    5. สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคารที่ทำการต่าง ๆ ถนนหนทาง เส้นทางคมนาคม ขนส่ง และรวมถึง เครื่องมือการสื่อสารและสาธารณูปโภคอื่น ๆ ด้วย
    6. เครื่องมือเครื่องใช้ติดต่อสื่อสารขนส่งและการทำมาหากิน เช่น ยานพาหนะต่าง ๆ
    7. ระบบและปฏิสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งมีแบบแผน ข้อกำหนด หรือ ตกลงแนวทางการปฏิบัติของคนในอาณาบริเวณนั้นที่มีต่อกันและที่มีต่อ บุคคลอื่นและท้องถิ่น

องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถูกใช้ร่วมกัน ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบมีสัดส่วน และโอกาส เป็นประโยชน์ต่อคนที่อาศัยในอาณาบริเวณนั้นรวมเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Culture) ซึ่งทราบได้จากการแสดงออกของคนในท้องถิ่นเองในด้านความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรม ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์แตกต่างจากท้องถิ่นอื่นและแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียก ขานของตนเองเป็นการเฉพาะ

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นได้จากแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

    1. แหล่งบุคคล (Informants) คือผู้ที่สามารถให้ข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
    1) บุคคลในท้องถิ่น (Lay man Information) หมายถึงบุคคลที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำมาหากิน อยู่อย่างถาวรในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นผู้ได้มีโอกาสรู้เห็น สัมผัส ความเป็นมาความเป็นไป ความเปลี่ยนแปลงแทบทุกเรื่องในท้องถิ่น โดยจดจำและเข้าใจเรื่องราวในประสบการณ์ของตนเป็นอย่างดี
    2) บุคคลภายนอก (Experts) คือผู้ที่มิได้ใช้ชีวิตหรือตั้งหลักปักฐานทำมาหากินอยู่ในถิ่นนั้น แต่เป็นผู้สนใจเรื่องราวของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นทุกเรื่องในท้องถิ่น หรือบางเรื่องก็ได้ แล้วทำการศึกษาสังเกต รวบรวมข้อมูลจากทั้งแหล่งในอาณาบริเวณท้องถิ่นนั้น และที่นอกเหนือจากท้องถิ่นนั้นด้วย ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเป็นอย่างดีลึกซึ้ง บุคคลประเภทนี้มักเป็นนักสำรวจหรือนักวิจัย
    2. แหล่งสถานที่ (Places) หมายถึง สถานที่ที่อยู่ในอาณาบริเวณของท้องถิ่นนั้นซึ่งมี 2 ประเภทคือ
    1) สถานที่ที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น ถ้ำ แม่น้ำ ภูเขา หุบเขา
    2) สถานที่ที่ถูกสร้างโดยฝีมือมนุษย์ เช่น บ้านเรือน ปราสาท ศาสนสถานต่าง ๆ กำแพง คูเมือง

    3. วัตถุสิ่งของ (Objects) หมายถึง สรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาณาบริเวณท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
    1) สิ่งของที่มนุษย์สร้างหรือทำขึ้น เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งบันทึกต่าง ๆ ของมนุษย์
    2) สิ่งที่มีหรือเกิดโดยธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น

    4. สัตว์และพืชในท้องถิ่น ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1) สัตว์เลี้ยงและพืชที่มนุษย์นำมาเพาะแพร่พันธุ์ในท้องถิ่น
    2) สัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์เลี้ยงและพืชพรรณที่เกิดขึ้นมีในท้องถิ่นอยู่แล้ว

แหล่งของศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
1. พิพิธภัณฑ์ (Museums) ทั้งของราชการและเอกชน หรือพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว เพราะบางคนเป็นนักสะสมของเก่าหรือของเฉพาะเรื่องในท้องถิ่น
2. ห้องสมุด (Library) เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์คือมีทั้งของราชการและส่วนตัว แต่สิ่งที่เก็บรักษาไว้จะเป็นประเภทวัสดุบันทึก (Records) มากกว่าชิ้นวัตถุ (Objects)
3. ศาสนสถานต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ ภายในบริเวณศษสนสถานอาจมีบางส่วนเป้ฯที่เก็บรวบรวมสิ่งที่เป็นสารสนเทศของท้องถิ่นที่ศาสนสถานนั้นตั้งอยู่
4.สวนสัตว์ต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
5. สวนพฤกษศาสตร์และสวนสมุนไพรในท้องถิ่น

การดำเนินการของศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น (Management of Local Information)

เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้หรือภูมิปัญญาและการเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสารสนเทศท้องถิ่น จึงควรมีการดำเนินการศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ดังนี้
1. สารสนเทศท้องถิ่น ควรมีการสำรวจ รวบรวม สังเคราะห์และคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจและคาดว่าจะเป็นประโยชน์ไว้ เพื่อศึกษาสำรวจรวบรวมให้ละเอียดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยอาศัยการจัดหมวดหมู่ตามความเหมาะสม เช่น หมวดบุคคลในท้องถิ่น
2. แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ควรมีการศึกษาสำรวจแล้วคัดเลือกเฉพาะที่ประเมินแล้วว่ามีความสำคัญ มีความสมบูรณ์ และให้ประโยชน์สูง จัดอันดับและจำแนกประเภทหรือกลุ่มไว้ แล้วทำบัญชีแหล่งสารสนเทศไว้ พร้อมทั้งแนวทางการติดต่อและการใช้บริการ

รายชื่อผู้ร่วมกลุ่ม

    นางสาววรุณรัตน์ คนซื่อ รหัส 430094005
    นางสาววรพร ฉิมพลีศิริ รหัส 430094014
    นางสาวอัจฉรา เทวาฤทธิ์ รหัส 430094015
    นางสาวมนนุกูล ทิมอ่ำ รหัส 430094016
    นางสาวบานเย็น อ่อนจันทร์ รหัส 430094030


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com