การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

ความสำคัญของแผนกลยุทธ์

การปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานในมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย (พรชุลี อาชวอำรุง, 2546) คือ เพื่อสร้างปัญญา ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ คุณธรรม และความสมบูรณ์ให้กับนิสิตนักศึกษาและบัณฑิตของตน ตลอดจนเพื่อพัฒนาและสร้างสรรองค์ความรู้ใหม่ การบริการวิชาการให้แก่ชุมชนและสังคม การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสิ่งแวดล้อม การธำรงรักษาสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งการเรียนรู้ขั้นสูงและการศึกษาตลอดชีวิต และช่วยเหลือร่วมมือกับการศึกษาทุกระดับ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับแผนกลยุทธ์และการทำแผนกลยุทธ์เพื่อให้ภารกิจของมหาวิทยาลัยเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
การวางแผนเป็นกระบวนการสำคัญในการบริหารงานองค์กร ในยุคมุ่งเน้นคุณภาพ การวางแผนได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการบริหารงาน เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์จึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการบริหารยุคมุ่งเน้นคุณภาพ
กลยุทธ์ มีรากฐานมาจากคำของกรีกในช่วงระหว่าง 400 ปีก่อนคริสต์กาลและเป็นคำที่ใช้กันในความหมายของศิลปะ และศาสตร์ที่เป็นยุทธการทางทหาร ต่อมาไม่นานคำนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารองค์การ คำว่า กลยุทธ์ มีความหมายเบื้องต้น คือ วิธีการที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (how to achieve objectives) ซึ่งอาจขยายความได้ว่า กลยุทธ์คือวิธีหรือแผนปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อให้เกิดผลที่เป็นข้อได้เปรียบและสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์อันใดอันหนึ่งหรือหลายวัตถุประสงค์พร้อมกันโดยให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ณ ระดับที่ยอมรับได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กลยุทธ์คือส่วนผสมของเป้าหมายและนโยบาย หลักต่าง ๆ ซึ่งได้ประมวลขึ้นมาจนกลายเป็นการกระทำที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง และส่วนมากมักจะทำให้ต้องทำการพัฒนาหรือดัดแปลงทรัพยากรต่าง ๆ กลยุทธ์ที่จัดทำขึ้นนั้นจะเป็นการแนะแนวทางที่เป็นวิธีการพื้นฐานที่ยึดถือไว้เพื่อใช้ปฏิบัติเพื่อให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายของ องค์การ(พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, 2543)
แผนกลยุทธ์และการวางแผนกลยุทธ์ มักใช้ในความหมายที่คลุมถึงแผนงานใหญ่ทั้งหมดขององค์การ การจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการของการตัดสินใจเลือกจุดหมายขององค์การ การเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย รวมทั้งการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ในองค์การ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดหา การใช้และจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์การ
ระบบบริหารราชการที่ใช้อยู่ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ เป็นระบบการบริหารแบบราชการ มีโครงสร้างและการดำเนินงานตามสายการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน มีระเบียบการบริหารเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน แต่ส่วนราชการใช้วิธีการบริหารการวางแผน (Planning) มาเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มให้ความสำคัญกับแผนกลยุทธ์ขององค์การซึ่งเกิดขึ้นจากการวางแผน กลยุทธ์(Strategic Planning)
การวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์(Vision) ของผู้นำในการที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทัะงภายนอกและภายในที่จะกระทบกับธุรกิจ เป็นการวางแผนในลักษณะที่เป็นทั้งการแก้ไข และการขจัดปัญหา และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งระยะสั้น กลาง และ ยาว(สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, 2543)
กู๊ดสไตน์ และ คณะ(Goodstein and others, 1993) กล่าวว่า การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการตอบคำถามพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการขององค์กร คือ องค์กรจะก้าวไปทางใด(What are you going?) สภาพแวดล้อมขององค์กรมีอะไรบ้าง (What is the environment?) และ องค์กรจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ (How do you get there?) แผนกลยุทธ์จึงเกิดขึ้นในองค์กรธุรกิจ เพราะสามารถกำหนดทิศทางการไปข้างหน้าของธุรกิจได้ หน่วยราชการจึงได้ปรับวิธีการทำแนงานปกติมาเป็นแผนกลยุทธ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต แผนกลยุทธ์เป็นแผนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีขอบเขตกว้างและมีผลกระทบต่อลักษณะความเป็นไปขององค์การในบั้นปลาย โดยอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างทางที่จะช่วยเสริมและชักนำให้องค์การเป็นไปตามที่ต้องการ

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004