1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

หัวเรื่อง

หัวเรื่องประกอบด้วยคำหรือวลี ซึ่งกำหนดใช้แทนเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละเล่ม หัวเรื่องส่วนมากเป็นคำที่สั้น ได้ใจความ และมีความหมายเฉพาะอย่างเด่นชัด คำที่กำหนด เป็นหัวเรื่องมีลักษณะดังนี้ :-

1.คำนามที่เป็นคำเดียว เช่น กฎหมาย, การศึกษา, จราจร, ดนตรี, ปรัชญา, ธง, ผลไม้, ภาษา, ยางพารา, วิทยุ, หมากรุก, อาหาร ฯลฯ
2. คำนามสองคำขึ้นไปเชื่อมด้วยสันธาน "กับ" หัวเรื่องประเภทนี้ใช้กับหนังสือ ที่มีเนื้อเรื่องสองเรื่องสัมพันธ์กัน หรือเนื้อเรื่องสองเรื่องตรงข้ามกัน แต่เขียนให้สัมพันธ์กัน หรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ธนาคารและการธนาคาร, อาชญากรรมและอาชญากร
3. กลุ่มคำ ประกอบด้วย คำหลายคำเรียบเรียงเป็นข้อความที่ได้ใจความ เช่น จีนในประเทศไทย, ทาสในประเทศไทย, ประเทศที่กำลังพัฒนา เป็นต้น
4. กลุ่มคำในข้อ 3 เมื่อนำมาทำเป็นหัวเรื่องแล้วไม่ได้เรียงถ้อยคำตามนั้น หากย้ายที่ คำซึ่งประสงค์จะเน้นมาเรียงไว้เป็นคำแรก หัวเรื่องประเภทนี้ดัดแปลงขึ้นเพื่อ สะดวกในการเรียงบัตร คำดังกล่าวนี้ส่วนมากมันเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "การ" ที่ใช้นำหน้า คำกริยาให้เป็นคำนาม การกลับคำในที่นี้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคำที่กลับ เช่น การสอบสวนคดีอาญา นำเอาคำสอบสวนไปไว้หลัง คดีอาญา เป็นคดีอาญา, การสอบสวน หรือ การปรุงอาหาร เป็นอาหาร, การปรุง เป็นต้น
5. หัวเรื่องที่มีคำอธิบายประกอบ คำอธิบายประกอบนี้เป็นคำที่มีอยู่ในวงเล็บ ทั้ง นี้ ก็เพราะคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเป็นหัวเรื่องนั้นมีความหมายได้หลายอย่าง เช่น กระท่อม อาจหมายถึงที่อยู่อาศัย หรือ หมายถึงพืชก็ได้ ดังนั้นเมื่อจะใช้คำว่า กระท่อมเป็นหัวเรื่องที่ เกี่ยวกับ พืช ก็ใช้คำว่า พืช ซึ่งอยู่ในวงเล็บเติมเข้าไป เป็น กระท่อม (พืช) หัวเรื่องที่ ได้ ก็จะหมายความถึงกระท่อมที่เป็นพืชชนิดหนึ่ง มิใช่กระท่อมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยดังนี้ เป็นต้น (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 2522 : 15-16) บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ควรมีหนังสือคู่มือในการให้หัวเรื่อง หรือถ้าคิดหัว เรื่องใช้เอง จะต้องทำบัญชีหัวเรื่องไว้ภายในห้องสมุด

หัวเรื่องย่อย

เป็นหัวเรื่องทีกำหนดขึ้นใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่หรือหัวเรื่องเฉพาะ เพื่อกำ หนดขอบเขตหรือความหมายของหัวเรื่องดังกล่าวให้เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น วิทยา ศาสตร์ เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีความหมายถึงเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไป แต่ถ้าเนื้อ เรื่องของหนังสือวิทยาศาสตร์เน้นหนักไปในด้านประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์ หัว เรื่องที่กำหนดให้นั้นก็ควรเฉพาะเจาะจงในประวัติของวิทยาศาสตร์เท่านั้น คือ วิทยา ศาสตร์ - ประวัติ คำว่า ประวัติ เป็นตัวอย่างของหัวเรื่องย่อย หัวเรื่องทุกหัวเรื่อง ต้องใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่ หรือหัวเรื่องเฉพาะอื่น ๆ ตามความจำเป็น และความเหมาะ สมกับเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละเล่ม

การแบ่งหัวเรื่อง

หัวเรื่องที่ไม่มีหัวเรื่องย่อยตามหลัง เรียกหัวเรื่องใหญ่หรือหัวเรื่องเฉพาะ ซึ่ง เป็นหัวเรื่องที่ได้กำหนดขึ้นใช้แทนเนื้อเรื่องของหนังสืออย่างกว้าง ๆ ไป จนถึงเนื้อเรื่อง ย่อย เท่านั้น ถ้าต้องการกำหนดหัวเรื่องดังกล่าวให้เฉพาะเจาะจงลงไป หรือแจ้งรายละ เอียดอื่น ๆ ประกอบก็อาจทำได้ โดยการแบ่งหัวเรื่องใหญ่หรือหัวเรื่องเฉพาะออกไป 5 วิธี ดังนี้

1. แบ่งโดยใช้หัวเรื่องย่อยตามหลังหัวเรื่องใหญ่หรือหัวเรื่องเฉพาะเพื่อแสดง รูปแบบของการเขียน หรือลักษณะของหนังสือ หัวเรื่องดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

    กฎและการปฎิบัติ ใช้กับเรื่องที่มิใช่กฎหมายหรือพระราชบัญญัติ
    กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
    กวีนิพนธ์
    การแก้ไขและการซ่อมแซม
    การคัดเลือก
    การเงิน
    การตลาด
    การทดลอง
    การแนะนำและการสอน ดูที่ การสอนและวิธีสอน
    การบัญชี
    การพักผ่อน
    การระวังรักษา
    การรักษาพยาบาล
    การวางแผน
    การวิเคราะห์
    การวิจารณ์
    การศึกษาเฉพาะกรณี
    การศึกษาและการสอน
    การสอนและวิธีสอน ใช้ตามหลังหัวเรื่องเกี่ยวกับดนตรี เครื่องดนตรี
      + การแนะนำการสอน

    การแสดงและการประกวด ใช้ตามหลังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานแสดงหรือ
    งานประกวดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
    การอพยพ
    กิจกรรมการเมือง
    ข้อสนเทศ
    ข้อสอบและเฉลย
      + ข้อสอบและปัญหา

    ข้อสอบและปัญหา ดูที่ ข้อสอบและเฉลย
    ความเรียง
    คำถามและคำตอบ
    คู่มือ
    เครื่องปรับอากาศ
    เครื่องมือและอุปกรณ์
    แง่จิตวิทยา
    แง่สังคม
    จิตวิทยา
    โจทย์และแบบฝึกหัด ดูที่ แบบฝึกหัด
    ชีวประวัติ
    ดรรชนี
    ตาราง
    ทัศนคติ
    ทำเนียบนาม
    นวนิยาย
    นามานุกรม
    นิทรรศการ
    บทละคร
    บรรณานุกรม
    แบบฝึกหัด
      + โจทย์และแบบฝึกหัด

    ประวัติและวิจารณ์ ใช้ตามหลังหัวเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี ศิลปกรรม และดนตรี
    ปรัชญา
    ปาฐกถา
    แผนที่
    พจนานุกรม
    ภาพ
      + รูปภาพ

    รวมเรื่อง
    รายงานประจำปี
    รูปภาพ ดูที่ ภาพ
    โรค
    ลูกจ้าง
    วารสาร
    วิจัย
    สถิติ
    สมาคม
    สอบคัดเลือก
    สังเขปความ
    สารานุกรม
    โสตทัศนวัสดุ
    หนังสือรายปี
    หลักสูตร
    ห้องปฎิบัติการ
    หุ่นจำลอง
    อุบัติเหตุ

หัวเรื่องย่อยเหล่านี้ ใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่หรือหัวเรื่องเฉพาะ โดยมีเครื่องหมาย - (ขีด) คั่นกลาง เช่น วิทยาศาสตร์ - ประวัติ, ศาสนา - พจนานุกรม ในการใช้หัว เรื่องย่อยเหล่านี้ ต้องใช้พิจารณา เลือกหัวเรื่องย่อยให้ตรงกับเนื้อหาหรือวิธีเขียนของหนัง สือแต่ละเล่ม อย่างไรก็ดีหัวเรื่องย่อยที่กล่าวมาแล้วนี้ บางหัวเรื่องก็เป็นได้ทั้งหัวเรื่อง เฉพาะ และหัวเรื่องย่อย เช่น กวีนิพนธ์, ความเรียง, ชีวประวัติ, นวนิยาย, บรรณา นุกรม, วิจัย, สถิติ ฯลฯ

2. แบ่งตามยุคสมัยหรือลำดับเหตุการณ์หรือระยะเวลา การแบ่งตามวิธีนี้ส่วน ใหญ่ใช้สำหรับหัวเรื่องทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือภูมิภาคต่าง ๆ หรือหัวเรื่องใหญ่หรือ หัวเรื่องเฉพาะอื่น ๆ ที่มีความสำคัญในแง่ของยุคสมัยหรือเหตุการณ์ เช่น

    ไทย - ประวัติศาสตร์ - สมัยแรกเริ่มก่อน พ.ศ. 1800
    กฎหมาย - ไทย - กรุงสุโขทัย
    กฎหมาย - ไทย - กรุงศรีอยุธยา

3.แบ่งตามภูมิศาสตร์ หรืออาจเรียกว่าแบ่งตามประเทศก็ได้ เช่น การรำ -ไทย

    การศึกษา - สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

4.แบ่งหัวเรื่องภูมิศาสตร์ออกไปตามหัวเรื่องหรือหัวเรื่องเฉพาะ เช่น ไทย - ความเป็นอยู่ และประเพณี, ญี่ปุ่น - ความเป็นอยู่และประเพณี เป็นต้น

5. แบ่งโดยใช้หัวเรื่องย่อยเฉพาะภาษาตามหลังชื่อเฉพาะของภาษาต่าง ๆ

ในกรณีที่คำในบัญชีหัวเรื่องกำหนดไว้แล้วนั้นไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ห้องสมุดอาจจะกำหนดคำขึ้นใหม่ได้ หลักการกำหนดคำขึ้นใช้เป็นหัวเรื่องมีดังนี้

    1. คำที่คนทั่วไปรู้จักแพร่หลาย
    2. คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเรื่องที่ต้องการแสดงออกมากที่สุด
    3. ศัพท์เฉพาะทางเทคนิคและวิชาการ คำวิสามานยนาม และคำสามานยนาม
    4. ความถูกต้องในแง่ภาษา (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 2522: 17-27)

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com