1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

ประวัติและพัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย
ห้องสมุดประชาชนสังกัดหน่วยงานอื่นๆ

ห้องสมุดประชาชน กรุงเทพมหานคร

พัฒนาการของห้องสมุดประชาชนที่กล่าวมา เป็นพัฒนาการการดำเนินงานของ กรมการศึกษานอกโรงรียน หน่วยราชการอีกแห่งหนึ่งที่ให้บริการห้องสมุดประชาชน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินงานตั้งแต่ครั้งยังมีฐานะเป็น ทศบาลนครกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครได้เริ่มจัดบริการ ห้องสมุดแก่ประชาชนเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยจัด ตั้งห้องสมุดประชาชนขึ้นในบริเวณสวนลุมพินี คือ "ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี" เปิดดำเนิน การเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2499 เป็นหน่วยงานสังกัดแผนการศึกษา กองกลาง เทศบาลนคร กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพมหนคร 2527 : 229) นับเป็นห้องสมุดประชาชน แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้น ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครดำเนินงานห้องสมุดประชาชน 8 แห่ง ในเขตต่าง ๆ ใน กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี (พ.ศ. 2499) ห้องสมุดประชาชน ซอยพระนาง (พ.ศ. 2512) ห้องสมุดประชาชนปทุมวัน (พ.ศ. 2513) ห้องสมุดประชาชน ขนงคาราม พ.ศ. 2520) ห้องสมุดประชาชนบางขุนเทียน (พ.ศ. 2523) ห้องสมุดวิชาการ (พ.ศ. 2509) และ ห้องสมุดประชาชน กรุงเทพมหานคร วัดรัชฏาธิษฐาน ราชวรวิหาร (พ.ศ. 2530)

ห้องสมุดประชาชนดังกล่าวข้างต้นขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เรียกว่างานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม เดิมเป็นหน่วยงานสังกัดแผนการศึกษา กองกลาง ต่อมา พ.ศ. 2501 ได้รับอนุมัติเป็นแผนกขึ้นเรียกว่า แผนกห้องสมุดประชาชนสันทนาการ พ.ศ. 2504 ได้โอนมาอยู่ในสังกัดกองการศึกษา แล้วเปลี่ยนมาสังกัดกองสันทนาการ ฝ่ายการศึกษาและ สวัดสิการสังคมเมื่อ พ.ศ. 2510 ในปี พ.ศ. 2516 แผนกห้องสมุดประชาชนอยู่ในสังกัดกองบริการชุมชนและ เยาวชน ฝ่ายการศึกษาและบริการชุมชน ต่อมา พ.ศ. 2517 ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารงานมา เป็นงานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพ มหานคร จนกระทั่งปัจจุบัน (กรุงเทพมหานคร 2530 : 3)

ห้องสมุดชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชนเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทต่อการดำเนินงานห้องสมุด ประชาชน ในชุมชน โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้กระตุ้นให้ประชาชนในชนบทจัดตั้งห้องสมุดชุมชนขึ้นถึง 446 แห่ง และกรมการพัฒนาชุมชนยังมีนโยบายที่จะขยายงานห้องสมุด โดยให้ ศูนย์พัฒนาตำบลทุกแห่งจัดให้มี ห้องสมุดชุมชนขึ้น การดำเนินงานห้องสมุดชุมชน ในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชนได้เริ่ม ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ซึ่งการจัดตั้งนั้น คณะกรรมการสภาตำบล คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกับระชาชนเป็นผู้ดำเนิอนงานจัดตั้งและดำเนินการควบคุม โดยพัฒนากรเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุนโดยการจัดหาาหนังสือให้ ปัจจุบัน กรมการพัฒนาชุมชน ได้ให้การสนันสนุนการดำเนินงาน ห้องสมุดชุมชนใน เขตพัฒนา สามารถจัดห้องสมุดชุมชนจุดสาธิตได้ 10 แห่ง และจัดห้องสมุดชุมชนจุดตัวอย่าง ได้ 72 แห่ง (สุวนัย ทองนพ 2526 : 1-8)

ห้องสมุดประชาชนของหน่วยงานเอกชน

นอกจากหน่วยงานทางราชการได้ดำเนินกิจการห้องสมุดประชาชนเพื่อให้บริการ แก่ประชาชนแล้ว ยังมีหน่วยงานเอกชนอื่น ๆ อีกมากที่ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดเพื่อสนอง วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการบริการหน่วยงานนั้น ๆ แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้า ใช้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ จึงจัดได้ว่าเป็นห้องสมุดประชาชนอีกประเภทหนึ่งที่มีผลต่อ การสนับสนุนการอ่านของประชาชน ห้องสมุดของหน่วยงานเอกชนที่ดำเนินการในรูปแบบของห้องสมุดประชาชนที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียนสอนภาษา สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (เอ ยู เอ ) ห้องสมุดเคาน์ซิล และห้องสมุดประชาชนธนาคารศรีนคร

ห้องสมุดโรงเรียนสอนภาษา สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (เอ ยู เอ)

ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณสถานสอนภาษาของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐ อเมริกา ถนนราชดำริ เปิดบริการเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยรวมห้องสมุด เข้าด้วยกัน อาคารห้องสมุดปัจจุบันเป็นตึก 2 ชั้น จุผู้อ่านประมาณ 170 คน งบประมาณ ส่วนใหญ่ของห้องสมุดได้จากสำนักงานสารนิเทศ ระหว่างชาติแห่งสหรัฐอเมริกา และบางส่วนจากสถานสอนภาษา สมาคมนักเรียนสหรัฐอเมริกา มีสาขาในต่างจังหวัด 3 แห่ง คือ ที่จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และ สงขลา (สุพรรณี วราทร 2523 : 89) ห้องสมุดสถานสอนภาษา สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐมเมริกาได้รับการอุดหนุนจากหน่วยงานใน ประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่เริ่มจึดตั้งตลอดจนถึงการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยการจัดสรรงบประมาณ จัดหาหนังสือ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุการอ่านประเภทต่าง ๆ ทำ ให้ห้องสมุดมีอาคารที่ทันสมัย เหมาะสม และมีเครื่องอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างครบ ถ้วน นอกจากนี้ในด้านบุคลากรก็ปรากฏว่า มีอัตราบรรณารักษ์ที่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ สูงกว่าห้องสมุดที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป จึงสามารถจัดบริการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกล่าวได้ว่าห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ให้บริการ ประชาชนทั่วไปทันสมัยที่สุดใน ปัจจุบัน (สุพรรณี วราทร 2523 : 92)

ห้องสุมดบริติช เคาน์ซิล

ห้องสมุดบริติช เคาน์ซิล เป็นห้องสมุดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้จัดตั้ง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยบริติช เคาน์ซิล (British Council) ซึ่งประเทศอังกฤษได้จัด ตั้งขึ้นในประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ วิชาภาษาอังกฤษและประเทศอังกฤษ ตลอดจนตั้งห้องสมุดจขึ้นควบคู่ ไปกับการจัดตั้งบริติชเคาน์ซิลด้วยเสมอ โดยมีความมุ่งหมายดังนี้ คือ

    1. เพื่อเป็นแหล่งให้บริการหนังสือในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    2. เพื่อช่วยการค้นคว้าและให้บริการด้านข่าวสาร เอกสารในเรื่องต่าง ๆ ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์
    3. เพื่อเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับหนังสือของประเทศอังกฤษ
    4. เพื่อช่วยเหลือห้องสมุดในประเทศไทยด้านการให้คำแนะนำเรื่องงานเทคนิค ของห้องสมุด การบริจาคหนังสือและสิ่งพิมพ์ และการบอกรับวารสาร ห้องสมุดบริติช เคาน์ซิล ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บริเวณ ศูนย์การค้าสยามสแควร์ เปิด ดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 (สุพรรณี วราทร 2523 : 92-93)

ห้องสมุดประชาชนธนาคารศรีนคร

ธนาคารศรีนครนับว่าเป็นหน่วยงานเอกชนแห่งแรกที่สนับสนุนการให้บริการการ อ่านหนังสือแก่ประชาชน ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนในรูปแบบของการให้บริการฟรี ธนาคารศรีนครเริ่มดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนมาหลายแห่ง คือ จัดตั้งห้องสมุด ประชาชน ธนาคารศรีนคร สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2515 จัดตั้งห้องสมุดประชาชน ธนาคารศรีนครสำนักงานใหญ่ สวนมะลิ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ. ศ. 2519 จัดตั้งห้องสมุดประชาชนธนาคารศรีนคร สาขาวงเวียนใหญ่ และยังสนับสนุน การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือ ให้กับเด็กโดยการจัดตั้งห้องสมุดเยาวชนธนาคารศรีนคร สามแยกอีกด้วย ห้องสมุดทั้งหมดให้บริการ แก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ธนาคารศรีนครยังได้จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในต่างจังหวัดอีก 2 แห่ง คือ ห้องสมุดประชาชนธนาคารศรีนครสาขาเชียงใหม่ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2518 และห้องสมุดประชาชนธนาคารศรีนครสาขาพิจิตร เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2522

ห้องสมุดประชาชน ธนาคารศรีนครทุกแแห่ง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ

    1. เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือ
    2. เพื่อสนับสนุนให้เยาวชน นักเรียน ได้มีตำรา เครื่องมือ และ สถานที่สำหรับทำการค้นคว้า
    ด้านวิชาการต่าง ๆ
    3. เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (ธนาคารศรีนคร : ม.ป.ป.)

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com