1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

การเก็บสถิติและทำรายงานของห้องสมุด

การเก็บสถิตเป็นงานที่จำเป็นอย่างหนึ่งของบรรณารักษ์ เพราะ แสดงให้ทราบความเป็นไป ความก้าวหน้าของห้องสมุด และยังเป็นประโยชน์ในการแก้ไข ปรับปรุงต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ทั้งยังใช้ประกอบในการเขียนรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบผลงาน ของห้องสมุดที่ได้ปฎิบัติไปแล้วในการเก็บสถิติห้องสมุด จะต้องเก็บทุกวันตลอดเวลาที่ห้องสมุดเปิดทำการ

สถิติต่าง ๆ ที่ห้องสมุดควรเก็บ คือ

    1. สถิติแสดงสิ่งพิมพ์ที่เข้ามาในห้องสมุด
    2. สถิติแสดงจำนวนหนังสือที่จัดหมู่และทำบัตรรายการ และเตรียมหนังสือ
    3. สถิติแสดงจำนวนหนังสือที่ห้องสมุดมีอยู่แล้ว และแยกจำนวนแต่ละหมวด
    4. สถิติแสดงจำนวนหนังสือซ่อม
    5. สถิติแสดงจำนวนหนังสือและวารสารเย็บเล่ม
    6. สถิติแสดงจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุดประจำวัน
    7. สถิติแสดงจำนวนหนังสือผู้ยืมออกทุกวัน แยกจำนวนแต่ละหมวด
    8. สถิติแสดงบริการพิเศษ
    9. สถิติแสดงบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
    10. สถิติแสดงจำนวนการทำรายชื่อหนังสือ
    11. สถิติแสดงจำนวนครั้งและจำนวนผู้เยี่ยมห้องสมุด
    12. สถิติการจัดโครงการต่าง ๆ แยกเป็นประเภทของกิจกรรม
    13. สถิติเงินรายได้ของห้องสมุด

การเก็บสถิติต่าง ๆ เหล่านี้ บรรณารักษ์ต้องทำแบบฟอร์มเอาไว้ เพื่อความสะดวกในการรวบรวมสถิติบางอย่าง อาจต้องรวมเป็นรายเดือนแล้วเฉลี่ย และควาทำกราฟแผนภูมิเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นเดือน เป็นปี ติดไว้ที่ป้ายประกาศของห้องสมุด ให้เป็นปัจจุบันด้วย

วิธีเก็บสถิติเพื่อทำรายงาน ควรทำดังนี้

    1. บรรณารักษ์ต้องเก็บสถิติทุกวัน ตลอดเวลาที่ห้องสมุดเปิด
    2. รวบรวมรายละเอียดจากสถิติที่เก็บได้เป็นรายวัน ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา
    3. ต้องทำสถิติให้สม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com