1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

การวางแผนนโยบายห้องสมุดประชาชน

การบริหารงานห้องสมุดประชาชนที่จะประสบผลสำเร็จด้วยดี ขึ้นอยู่กับการวาง แผนนโยบายของห้องสมุด คณะกรรมการห้องสมุดหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรกำหนดการ วางนโยบายห้องสมุดอย่างกว้าง และการวางนโยบายนี้ ควรจะเป็นการเตรียมตัวก่อนการดำเนินงานเฉพาะเรื่อง ในทุกระดับหน่วยงานของห้องสมุด (Corbett 1987:73) การ วางนโยบายที่ดีมีผลต่อการทำงานที่ทำให้บรรลุวัตถุของห้องสมุด คณะกรรมการห้องสมุดประชาชน บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานยบายเกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ของกรมการศึกษานอกโรงเรียยน ศูนย์การ ศึกษานอกโรงเรียนประจำจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาค เป็นต้น เพื่อสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ห้องสมุดประชาชน ซึ่งควรจะมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

    1. คำนึงถึงความต้องการของผู้มาใช้บริการ อำนวยความสะดวกทุกวิถีทางให้รวดเร็ว ทันใจ ไม่อืดอาด
    2. พยายามชักจูงบุคคลให้เข้ามาเป็นสมาชิกให้มากที่สุด
    3. จัดหาหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุเข้าห้องสมุดให้มากที่สุด
    4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุดให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึงและสม่ำเสมอ
    5. จัดห้องสมุดให้เป็นศุนย์วิชาการ และสันทนาการของท้องถิ่น มีวัสดุอุปกรณ์ การเรียนหลาย ๆ ประเภท ให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้ตามความถนัด
    6. ควรขยายบริการออกไปให้กว้างขวาง
    7. ร่วมมือกับคณะกรรมการห้องสมุดประชาชน ทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ห้องสมุด และในฐานะที่ห้องสมุดประชาชน ทำหน้าที่เป็นห้องสมุดโรงเรียนตามแนวนโยบายของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จึงควรกำหนดนโยบายในเรื่องต่อไปนี้ไว้ด้วย คือ
      1.สถานที่ จัดให้มีห้องสมุดเดียวเป็นศูนย์กลาง หรือว่าจะแยกเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน เช่น ห้องสมุดปฎิบัติงาน ห้องอ่านค้นคว้า ห้องสำหรับครูอาจารย์
      2. การกำหนดบริการ จะให้บริการอะไรบ้าง เพียงแค่ไหนและอย่างไร

การวางแผนการปฎิบัติงานห้องสมุด

การดำเนินงานห้องสมุดต้องมีการวางแผนงานล่วงหน้า เพื่อจะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้ การวางแผนการปฎิบัติงานในห้องสมุด จะก่อให้เกิดประโยชน์ คือ

    1. ห้องสมุดสามารถรวบรวมทรัพยากรที่ห้องสมุดต้องการสำหรับการดำเนินกิจการต่าง ๆ
    2. สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าและความเจริญเติบโตของห้องสมุดได้ สามารถแก้ไขข้อบกพร่องถ้าหากเกิดขึ้นได้ โดยพิจารณาดูจากแผนการปฎิบัติงาน แผนการปฎิบัติงานในห้องสมุดจะจัดทำขึ้น โดยผู้บริหารระดับสูง แผนการปฎิบัติ งานห้องสมุดประชาชน อาจกำหนดโดย คณะกรรมการห้องสมุดประชาชน หรือ ศูนย์การศึกษาประชาชนแล้วแต่กรณี แผนงานสำหรับห้องสมุดอาจจะมีระยะเวลานานถึงห้าปี ถ้าหากมีการวางแผนขนาดใหญ่จะเกี่ยวข้องกับข้อผูกพัน ทางด้านการเงินเป็นจำนวนมาก ๆ แต่การวางแผนโดยผู้บริหารระดับต่ำหรือระดับกลางจะมีระยะเวลาสั้นว่า เช่น อาจใช้ระยะ เวลาเพียง 1 วัน 1 สัปดาห์ หรือภายใน 1-2 เดือนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเขียนโครงการเพื่อเสนอวิธีการปฎิบัติงาน ภายในห้องสมุด การเขียนโครงการจึงมีบทบาทสำคัญต่อการวางแผนการปฏิบัติงานและการใช้เป็นเครื่องมือต่อการของบประมาณสนับสนุน การดำเนินงานของห้องสมุด

หน้าสารบัญ
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com