1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

มาตรฐานห้องสมุดประชาชนในต่างประเทศ
มาตรฐานห้องสมุดประชาชน
สหพันธ์สากลแห่งสมาคมห้องสมุดและสถาบัน

สหพันธ์สากลแห่งสมาคมห้องสมุดและสถาบัน เป็นสถาบันห้องสมุดระดับนานาชาติ อีกสถาบันหนึ่ง ที่ได้กำหนดมาตรฐานห้องสมุดสำหรับห้องสมุดประชาชนในประเทศต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนจาก องค์การยูเนสโก ทั้งนี้โดยแผนกห้องสมุดประชาชนของสหพันธ์สากลแห่งสมาคมห้องสุมดและสถาบัน ได้จัดพิมพ์มาตราฐานสำหรับการให้บริการห้องสมุดประชาชนระหว่างปี ค.ศ. 1956-1958 โดยมีเนื้อหา 5 เรื่องใหญ่ ๆ คือ มาตรฐานว่าด้วย หนังสือและวัสดุห้องสมุดอื่น มาตรฐานว่าด้วยบุคลากรห้องสมุด มาตรฐานว่าด้วยการใช้ ประโยชน์จากห้องสมุด เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และมาตรฐานว่าด้วยอาคารสถานที่ (International Fedration Library Association and Institutions, Public Libraries Section 1977: 11) ต่อมาได้มีการปรับปรุงมาตรฐานห้องสมุดประชาชนเพื่อให้ใช้ได้ กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ในปี ค.ศ. 1969 สหพันธ์สากลแห่งสมาคมห้องสมุดและสถาบัน ได้ทำหนังสือเวียนแจ้งให้แก่ประเทศ ที่เป็นสมาชิกถึงเรื่องความคิดเห็นต่อการจัดพิมพ์มาตรฐานห้องสมุดประชาชน และ มีการปรับปรุง มาตรฐานห้องสมุดประชาชนเพื่อรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ที่กรุงบูดาเปสท์ ประเทศฮังการี เมื่อ ค.ศ. 1972 (Intermational FEderation of Library Association and Institutions Public Libraries Section 1977:11-12)

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ที่กำเนินงานในเรื่องห้องสมุดประชาชน ใช้มาตรฐานห้องสมุดประชาชน ฉบับนี้เป็นคู่มือในการปฎิบัติงานมาตรฐานห้องสมุดประชาชน ของสหพันธ์สากลแห่งสมาคมห้องสมุดและสถาบัน มีทั้งหมด 119 ข้อ พอสรุปได้ดังนี้

ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานห้องสมุดประชาชน

ข้อ 1 ห้องสมุดประชาชนเป็นหน่วยงานที่เติบโตและดำเนินการอย่างไม่หยุดยั้ง ได้รับงบประมาณในการจัดสร้าง การจัดซื้อวัสดุห้องสมุด และการจ้างบุคคลกรห้องสมุด
ข้อ 2 การให้บริการห้องสมุด ควรจะกระทำเพื่อได้รับความสนัสนุนทางด้านการเงินเพียงพอ
ข้อ 3 วัตถุประสงค์ของการให้บริการ และวิธีการให้บริการอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละห้องสุมด
ข้อ 4 ควรมีมาตรฐานห้องสมุดเพื่อปฎิบัติใช้ได้ในนานาประเทศ
ข้อ 5 การปฏิบัติตามมาตรฐานห้องสมุดนี้ จัดทำตามแนวประสบการณ์ของบรรณารักษ์ต่อการพัฒนาให้ บริการห้องสมุด
ข้อ 6 มาตรฐานห้องสมุดบางอย่างอาจยืดหยุ่นได้ เช่น อัตราการจัดซื้อวัสดุ การจัดทำบัตรรายการ และการจัดหมู่หนังสือ เป็นต้น
ข้อ 7 ระดับต่าง ๆ ของข้อกำหนดในมาตรฐาน จะต้องมีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด แต่ละคน

ว่าด้วยเรื่องการบริหารและการบริการ อธิบายคำจำกัดความ ความหมายของคำที่ปรากฏในมาตรฐาน
ข้อ 8 หน่วยงานการบริหารงาน (Administrative Unit) หมายถึง หน่วยงานการให้บริการของ ห้องสมุดประชาชน ซึ่งเป็นอิสระต่อการดำเนินงาน
ข้อ 9 ระบบห้องสมุดประชาชน (Public Library System) หมายถึง กลุ่มของห้องสมุดประชาชน ที่มีหน่วยงานการบริหารงานเป็นอิสระ หรือประกอบด้วยหน่วยบริหารหลาย ๆ

หน่วยที่ทำงานด้วยกัน ด้วยข้อตกลงร่วมกัน
ข้อ10 หน่วยบริการ (Service Point) หมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยบริหาร หรือระบบห้องสมุด ซึ่งให้บริการโดยตรง ได้แก่ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องสมุดสาขา เป็นต้น
ข้อ 11 บริการห้องสมุดประชาชน (Public Library Service) หมายถึง งานด้านบริการในหน้าที่ของห้องสมุด

ว่าด้วยขนาดของหน่วยบริหาร
ข้อ 12 เป็นที่ยอมรับแล้วว่าในชุมชนที่พัฒนาแล้ว ชุมชนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้การสนับสนุนการให้ บริการของห้องสมุด
ข้อ 13 อาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น เรื่องทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และความหนาแน่นของประชาชน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อหน่วยบริหาร
ข้อ 14 ควรจะมีการกำหนดขนาดของหน่วยบริหาร
ข้อ 15 ระบบห้องสมุดประชาชนควรกำหนดตามจำนวนประชากรอย่างน้อย 15,000 คน
ข้อ 16 ในบางประเทศ บริการห้องสมุดจัดทำในระดับชาติโดยรัฐบาลกลาง
ข้อ 17 ในชุมชนที่ไม่สามารถจัดหน่วยบริการใหญ่ได้ ให้ถือเกณฑ์จำนวนประชากรอย่างน้อย 50,000 คน เป็นเกณฑ์ปกติขั้นต่ำ
ข้อ 18 หน่วยบริการที่เล็กที่สุด ควรมีประชากรอย่างน้อย 3,000 คน

หน่วยบริการ ประเภท และการใช้ประโยชน์
ข้อ 19 ห้องสมุดประชาชนสำนักงานใหญ่ ควรเปิดให้บริการสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง ส่วนห้องสมุดสาขาอาจพิจารณา ให้เปิดระหว่าง 18-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามความต้องการ
ข้อ 20 ห้องสมุดประชาชนสำนักงานใหญ่และห้องสมุดสาขาขนาดใหญ่ ให้บริการอย่างกว้างขวางแก่ประชาชน ในเขตความรับผิดชอบ
ข้อ 21 ชุมชนเล็ก ๆ หรือบ้านของประชาชนที่อยู่โดดเดี่ยวจำเป็นต้องให้บริการด้วยห้องสมุดเคลื่อนที่

มาตรฐานเรื่องทรัพยากรห้องสมุด

ว่าด้วยหนังสือทั่วไป
ข้อ 22 ในหน่วยบริการที่เล็กที่สุด ควรจะมีหนังสืออย่างน้อย 3 เล่มต่อรายหัว แต่ถ้าจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น อัตราของหนังสือควรเป็น 2 เล่มต่อรายหัว ตามมาตรฐานนี้หนังสือ 1 ใน 3 ของทั้งหมดจะต้องเป็นหนังสือ สำหรับเด็ก ถ้าหากจำนวนประชากรเป็นเด็กประมาณ 25-30% จองประชากรทั้งหมด
ข้อ 23 หนังสือที่มี ควรครอบคลุมดนื้แหาวิชาทุกด้านสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
ข้อ 24 ในประเทศที่กำลังพัฒนาในการให้บริการห้องสมุด ห้องสมุดควรจะมีหนังสือให้บริการ 9,000 เล่ม
ข้อ 25 เกณฑ์การให้บริการหนังสืออย่างต่ำ 9,000 เล่ม ให้ยึดถือจากจำนวนประชากรขั้นต่ำ อย่างน้อย 3,000 คน
ข้อ 26 ในหน่วยบริหารที่มีประชากรต่ำกว่า 3,000 คน ให้บริการประชาชนด้วยบริการของห้องสมุด เคลื่อนที่ หรือบริการอื่น ๆ

ว่าด้วยหนังสืออ้างอิง

ข้อ 27 หนังสืออ้างอิงจะต้องจัดให้บริการอยู่ตลอดเวลส และไม่ให้ยืมออกนอกห้องสมุด
ข้อ 28 ในหน่วยบริหารที่เล็กที่สุด ที่มีประชากรขั้นต่ำ 3,000 คน ควรมีหนังสืออ้างอิงอย่างน้อย 100 ชื่อเรื่อง ถ้าเป็นชุมชนใหญ่ จำนวนหนังสืออ้างอิงควรมีประมาณ 10%
ของหนังสือทั้งหมด
ข้อ 29 ควรมีการจัดหาหนังสืออ้างอิงสำหรับเด็กด้วย

ว่าด้วยการจำหน่ายหนังสือ
ข้อ 30 หนังสือที่มีสภาพชำรุก เนื้องเรื่องล้าสมัย หรือหมดคุณค่าควรจำหน่ายออกจากสมุดทะเบียน
ข้อ 31 ในห้องสมุดที่จัดตั้งใหม่ อาจจะยังไม่มีความจำเป็นในการจำหน่ายหนังสือ
ข้อ 32 ในประเทศที่กำลังพัฒนา หนังสือมักมีคุณภาพต่ำในการจัดทำรูปเล่มสภาพหนังสือชำนุดได้ง่าย จำเป็นต้องจำหน่ายออกและต้องมีการจัดหามาทดแทน

ว่าด้วยการเพิ่มจำนวนหนังสือต่อปี

ข้อ 33 ให้มีการเพิ่มหนังสือที่ตีพิมพ์ออกใหม่ รวมทั้งหนังสือเด็กและนวนิยายสำหรับผู้ใหญ่ หนังสือวิชาการทั่ว ๆ ไปทดแทนหนังสือที่ล้าสมัย
ข้อ 34 การเพิ่มจำนวนหนังสือ ควรเพิ่มอย่างน้อยปีละ 250 เล่มต่อประชากร 1,000 คน
ข้อ 35 จำนวนหนังสือที่เพิ่มขึ้นควรเป็นหนังสือสำหหรับเด็กประมาณ 1 ใน 3 ของหนังสือทั้งหมด ถ้าหากจำนวนเด็กมีประมาณ 20-30 % ของจำนวนประชากรทั้งหมดในห้องสมุดที่ให้บริการประชาชน ประมาณ 50,000 คน ควรมีการเพิ่มหนังสือประมาณปีละ 10%
ข้อ 36 มาตรฐานในเรื่องการจัดหาหนังสือ อาจมีการปรับให้เข้ากับจำนวนหนังสือที่ผลิตได้ในประเทศ ควรมีการจัดหาหนังสือที่ตีพิมพ์ในภาษาอื่น ๆ ด้วย

ว่าด้วยการเข้าปก
ข้อ 37 หนังสือปกออ่อนควรเข้าเล่มด้วยปกแข็งก่อนการให้บริการ

ว่าด้วยวารสารและหนังสือพิมพ์

ข้อ 38 อาจมีความแตกต่างกันในการจัดหาวารสารและหนังสือพิมพ์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา
ข้อ 39 ควรมีวารสารให้บริการอย่างน้อย 50 รายการ ในหน่วยบริหารขนาดใหญ่ ควรมีวารสาร 10 ชื่อเรื่อง ต่อประชากร 1,000 คน
ข้อ 40 ในหน่วยบริหารที่มีประชากร 100,000 คน หรือมากกว่า อัตราส่วนของวารสารขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ
ข้อ 41 การจัดหาวารสารมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา

ว่าด้วยโสตทัศนวัสดุ

ข้อ 42 โสตทัศนวัสดุในที่นี้ คือ วัสดุสำหรับฟัง และดู ไดแก่ แผ่นเสียง แถบเสียง ภาพยนตร์ สไลด์ ภาพเลื่อน และเครื่องเล่นวิดีโอ
ข้อ 43 โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ควรจัดหาวัสดุตีพิมพ์ก่อนโสตทัศนวัสดุ
ข้อ 44 โสตทัศนวัสดุ ในรูปวัสดุย่อส่วน มีความสะดวกสบายต่อการจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร
ข้อ 45 การบริการในห้องสมุดประชาชน ควรจัดหาเครื่องอุปกรณ์ โสตทัศนวัสดุ ให้บริการแก่เด็กและผู้ใหญ่ เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นแถบเสียง เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์หรือภาพเลื่อน เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์

ว่าด้วยแผ่นเสียงและเถบเสียง
ข้อ 46 ควรมีแผ่นเสียงหรือแถถบเสียงอย่างต่ำ 2,000 แผ่นต่อประชากร 20,000 คน และการเพิ่มจำนวน 300 แผ่นต่อปี สไลด์ ภาพเลื่อน และวีดีโอ
ข้อ 47 ห้องสมุดประชาชนควรจัดหาวัสดุเหล่านี้ไว้ให้บริการด้วยศิลปวัสดุและวัสดุอื่น ๆ
ข้อ 48 ห้องสมุดประชาชนหลายแก่งจัดหาภาพทางศิลปะทั้งภาพต้นฉบับหรือภาพจำลองแบบจากต้นฉบับ

มาตรฐานสำหรับกลุ่มคนบางกลุ่ม

ว่าด้วยเด็ก

ข้อ 49 การบริการสำหรัะบเด็กควรครอบคลุมการให้บริการจากนัยเยาว์จนกระทั่งถึงอายุ 14อปี
ข้อ 50 ห้องสมุดประชาชนมีบทบาทในการกระตุ้นเตือนความนึกคิดของเด็ก หนังสือสำหรับเด็ก จะต้องมีทั้งที่ให้ข้อเท็จจริงและที่ส่งเสริมจินตนาการ
ข้อ 51 โสตทัศนวัสดุ ซึ่งผลิตขึ้น้พิ่มการศึกษามีประโยชน์ต่อการให้บริการแก่เด็ก
ข้อ 52 บุคลากรในห้องสมุด ที่ให้บริการแก่เด็กจะต้องมีความรู้โดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของเด็ก

ว่าด้วยผู้ใช้บริการที่พิการ รวมทั้งผู้ป่วยในโรงพยาบาล และผู้ต้องขังในเรือนจำ

ว่าด้วยการบริการทั่ว ๆ ไป

ข้อ 53 การให้บริการห้องสมุดประชาชนทุกชนิดควรจัดให้แก่คนพิการเท่าที่จพทำได้
ข้อ 54 การจัดให้บริการ อาจมีแผนกงานแยกต่างหากเพื่อให้บริการ

ว่าด้วยผู้อ่านที่ต้องจำกัดอยู่ในสถานที่

ข้อ 55 การให้บริการต้องคำนึงว่าให้บริการอยู่ในห้องสมุด หรือให้บริการโดยห้องสมุดสาขา หรือห้อสมุดเคลื่อนที่
ข้อ 56 การไม่เยี่ยมเยียนบุคคลประเภทนี้ ควรกำหนดไปให้บริการอย่างน้อย 3 สัปดาห์ต่อครั้ง โดยใช้เจ้าหน้าที่ที่ห้องสมุด 1 คนต่อผู้รับบริการ 20-25 คน

ว่าด้วยคนสายตาพิการรวมทั้งคนตาบอด

ข้อ 57 ห้องสมุดประชาชนเป็นฝ่ายให้บริการแผ่นเสียงหรือแถบเสียง หนังสือสำหรับผู้อ่านที่สายตาไม่ดี ก็จัดหาหนังสือที่มีตัวอักษรขนาดใหญ่ให้บริการ

ว่าด้วยการบริการในโรงพยาบาล

ข้อ 58 โรงพยาบาลที่มีเตียงคนไข้ 500 เตียง และเจ้าหน้าที่ ระหว่าง 700 ถึง 1,000 คน ควรมีหนังสือให้บริการ 4,000 - 5,000 เล่ม โรงพยาบาลเล็ก ๆ ควรมีหนังสืออย่างน้อย 200-250 เล่ม
ข้อ 59 ห้องสมุดประชาชนและโรงพยาบาลควรร่วมมือกันให้มีสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาหนังสือ มีรถเข็นไปตามห้องคนไข้อย่างน้อยสับดาห์ละครั้ง

ว่าด้วยการบริการในบ้านคนชรา

ข้อ 60 ควรมีการฝากหนังสือไปให้บริการ 2-6 เล่มต่อคน หรือมีอย่างน้อย 200 เล่ม มีการเปลี่ยนหนังสือ อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง

ว่าด้วยการบริการในเรือนจำ

ข้อ 61 ห้องสมุดประชาชนควรจัดให้บริการโดยจัดหาหนังสือ 5-10 เล่มต่อคน และควรเปลี่ยนหนังสือ อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง

ว่าด้วยชนกลุ่มน้อย

ข้อ 62 ควรจัดหาหนังสือในภาษาของชนกลุ่มน้อยให้บริการ
ข้อ 63 ควรมีการกระตุ้นเตือนให้คนกลุ่มน้อยมาใช้บริการห้องสมุดประชาชน
ข้อ 64 จำนวนหนังสือที่ให้บริการ ควรอยู่ระหว่าง 1 เล่มต่อ 5 คน ต่อชนกลุ่มน้อย 2,000 คน จำนวนหนังสืออย่างต่ำ ควรมี 100 เล่ม
ข้อ 65 ทุก ๆ 600 คน ควรมีวารสารให้อ่าน 1 ชื่อเรื่องในภาษาของชนกลุ่มน้อย นั้น ๆ

มาตรฐานสำหรับบุคลากร

ข้อ 66 มาตรฐานสำหรับบุคลากร หมายถึง มาตรฐานเกี่ยวกับบุคลากรทางวิชาชีพทางด้านบริหาร และเสมียนในห้องสมุด
ข้อ 67 ความต้องการบุคลาในห้องสมุดมีปัจจัย 2 ประการ คือ จำนวนประชากรที่รับบริการ จำนวนเล่มหนังสือที่ใช้ และบริการที่จัดให้
ข้อ 68 จำนวนประชาชนที่รับบริการนับว่าเป็นพื้นฐานของปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการจัดทำมาตรฐาน สำหรับบุคลากร
ข้อ 69 ในบริการหอ้งสมุดแต่ละแห่งจะต้องมีบรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิทำหน้าที่บริหาร และควบคุม บริการ เลือก และจัดหมู่หนังสือและวัสดุอื่น ๆ
ข้อ 70 เสมียนพนักงานมีหน้าที่ในการปฎิบัติงานประจำในแต่ละวัน เช่น การจดสถิติ จ่าย รับ หนังสือ เตรียมหนังสือออก เป็นต้น
ข้อ 71 ในหน่วยบริหารที่มีประชากร 3,000 คน และมีหนังสือ 9,000 เล่ม มี วารสารให้บริการ และการให้บริการแก่เด็กและผู้ใหญ่จะต้องมีบรรณารักษ์มีคุณวุฒิทำงานเต็มเวลา 1 คน และมีเสมียน พนักงานช่วยงานอีกบ้าง
ข้อ 72 ในหน่วยบริหารใหญ่จะต้องมีจำนวนบรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ 1 คนต่อ ประชากร 2,000 คน
ข้อ 73 ในหน่วยบริหารที่ให้บริการอย่างเต็มที่จะต้องมีบรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิ อย่างน้อย 1 คนต่อหน่วยบริการใหญ่
ข้อ 74 อัตราส่วนของบรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิจ่อจำนวนบุคลากรทั้งหมดขั้นต่ำ 33% ถ้าเป็นหน่วยมีสาขาห้องสมุด และหน่วยบริการเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากก็ควรเป็น 40% ในหน่วยบริการที่มีประชากร 10,000 คนนั้น ควรมีบรรณารักษ์สำหรับแผนกเด็ก 1 คน
ข้อ 75 เงินเดือนที่จ่ายให้บรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิจะต้องเพียงพอที่จะดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถ และมีความคิดริเริ่ม
ข้อ 76 ในประเทศที่กำลังพัฒนา อาจขาดแคลนบรรณารักษ์ผู้มีคุณวุฒิ เพราะขาดสถานศึกษาสำหรับฝึกอบรม จึงควรให้มีการฝึกหัดงานห้องสมุดเองจนกว่าจะมีสถาบัน การศึกษาวิชาชีพโดยตรงต่อไป

มาตรฐานอาคารห้องสมุด

ข้อ 77 ควรมีการพิจารณาถึงสภาพการให้บริการ ความต้องการของท้องถิ่น จุดประสงค์ของห้องสมุด ก่อนตัดสินใจสร้างอาคาร
ข้อ 78 อาคารห้องสมุดประชาชน ควรมีแบบแปลนสำหรับสนองความต้องการใน ระยะ 10-20 ปี และสามารถต่อเติมได้
ข้อ 79 อาคารห้องสมุดประชาชนควรอยู่ในย่านกลางของชุมชน การคมนาคมและ ที่จอดรถสะดวก ห้องสมุดสาขาควรอยู่ห่างจากย่านที่อยู่อาศัยในระยะ 1.8 กิโลเมตร
ข้อ 80 ควรจัดสร้างอาคารห้องสมุด เพื่อให้เห็นสถานที่บริการชุมชนได้ด้วย เช่น เป็นสถานที่สำหรับ จัดนิทรรศการ โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
ข้อ 81 การออกแบบอาคารห้องสมุดควรเอื้ออำนวยต่อประโยชน์การใช้วัสดุ ห้องสมุดสามารถมองเห็น สภาพการบริการภายในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
ข้อ 82 ความต้องการเนื้อที่ของอาคารห้องสมุดขึ้นอยู่กับการพิจารณาให้บริการห้องสมุดแต่ละแห่ง
ข้อ 83 การใช้เนื้อที่ภายในอาคารห้องสมุด ควรคำนึงถึงสัดส่วนของประชากรที่ห้องสมุดรับผิดชอบ ในการบริการเป็นลำดับแรก
ข้อ 84 การจัดเนื้อที่สำหรับแผนกจ่าย-รับ และแผนกบริการอ้างอิง ควรจัดเป็นแผนกเฉพาะ
ข้อ 85 การจัดเนื้อที่สำหรับเก็บหนังสือทั่วไปควรมีการคำนึงสถานที่เพื่อจัดเก็บหนังสือสำหรับ หน่วย บริการหลาย ๆ แห่งด้วย
ข้อ 86 การจัดหนังสือไว้บนชั้น โดยยึดเกณฑ์ในข้อ 22 จัดหาเนื้อที่สำหรับเก็บหนังสือ 800 เล่มต่อประชากร 1,000 คน และถ้าห้องสมุดให้บริการแก่ประชาชน 3,000 คน หรือมากกว่านั้นก็ควรจัดหนังสือไม่ต่ำกว่า 4,000 เล่ม ในห้องสมุดสาขาเล็ก ๆ แผนกให้ยืมควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางเมตร (1,076 ตารางฟุต)
ข้อ 88 เนื้อที่สำหรับแผนกอ้างอิง ควรคำนึงถึง จำนวนหนังสืออ้างอิงบนชั้น เนื้อที่สำหรับโต๊ะ บริการตอบคำถาม บริเวณผู้ใช้หนังสืออ้างอิง และเนื้อที่สำหรับค้นคว้าวารสาร
ข้อ 89 ความต้องการเนื้อที่สำรหับหนังสืออ้างอิงให้ยึดเกณฑ์ที่กล่าวถึงในข้อ 28
ข้อ 90 เนื้อที่ที่เพียงพอสำหรับชั้นหนังสืออ้างอิง คือ 10 ตารางเมตร (180 ตารางเมตร)
ข้อ 91 ระดับความต้องการเนื้อที่อื่น ๆ ในแผนกอ้างอิงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดของประชากร จำนวนโครงสร้างของอายุของประชากร จำนวนนักเรียน เป็นต้น
ข้อ 92 ห้องสมุดประชาชนทุกแห่งต้องการเนื้อที่สำหรับการให้บริการวารสารและ หนังสือพิมพ์ตามเกณฑ์ ที่กล่าวถึงในข้อ 39-40 ควรจัดที่นั่ง 1 ที่นั่งต่อจำนวนประชากร 2,000 คน สำหรับห้องสมุดที่ให้บริการ ประชากร 20,000 คน
ข้อ 93 ควรจัดหาเนื้อที่สำหรับโสตทัศนวัสดุตามเกณฑ์ที่กล่าวถึงในข้อ 42-47
ข้อ 94 ในห้องสมุดขนาดใหญ่ ควรมีการจัดเนื้อที่ให้บริการโสตทัศนวัสดุสัมพันธ์ซึ่งกันและในการให้บริการ
ข้อ 95 ความต้องการเนื้อที่สำหรับจัดเก็บโสตทัศนวัสดุ ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องสมุดที่เพิ่มขึ้น
ข้อ 96 ควรพิจารณาถึงเนื้อที่สำหรับจัดเก็บโสตทัศนวัสดุที่มีความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ข้อ 97 ห้องสมุดประชาชนที่ให้บริการประชาชน จำนวน 20,000 คน หรือ มากกว่านี้ จำเป็นต้องมีเนื้อที่ สำหรับจัดเก็บโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์โดยเฉพาะ
ข้อ 98 การวางแปลนห้องสมุด ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากโสตทัศนวัสดุของผู้ใช้ห้องสมุด เป็นรายบุคคลหรือกลุ่มคน
ข้อ 99 ความต้องการในการใช้บริการโสตทัศนวัสดุเป็นรายบุคคลไม่จำเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ เพราะสามารถ ให้บริการที่โต๊ะบริการได้เลย
ข้อ 100 เนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นสำหรับการบริการโสตทัศนวัสดุ ควรกำหนดประมาณ 2.5 ตารางเมตร (27 ตารางฟุต) ต่อหน่วย
ข้อ 101 เนื้อที่สำหรับให้บริการแก่เด็กจะต้องพิจารณาถึง

    1. บริเวณที่ให้ยืมรวมเนื้อที่สำหรับวัสดุอื่น ๆ และบริเวณนิทรรศการ
    2. เนื้อที่สำหรับหนังสืออ้างอิและบริเวณที่ใช้หนังสือนั้น ๆ
    3. ที่สำหรับใช้อุปกรณ์ที่ต้องดูและฟัง
    4. บริเวณสำหรับจัดนิทรรศการต่าง ๆ สำหรับเด็ก เช่น ชั่วโมงเล่านิทาน การฉายภาพยนตร์ การพบปะสนทนา เป็นต้น

ข้อ 102 ควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ในแผนกเด็กในช่วงที่เด็กเข้ารับบริการเป็นจำนวนมากด้วย
ข้อ 103 ไม่ควรแยกทางเข้าโดยเฉพาะสำหรับเด็ก เด็กและผู้ใหญ่ควรเข้าประตูเดียวกัน
ข้อ 104 ห้องสมุดประชาชนบางแห่ง อาจจัดแผนกเด็กเป็นอาคารหนึ่งต่างหาก
ข้อ 105 เนื้อที่สำหรับให้ยืมหนังสือ ควรมีขนาด 16 ตารางเมตร (172 ตารางฟุต) ต่อการจัดเก็บหนังสือทุก ๆ 1,000 เล่มบนชั้นเปิด
ข้อ 106 ในห้องสมุดประชาชนที่บริการประชาชนมากกว่า 10,000 คน ความต้องการเนื้อที่ในบริเวณให้ยืมหนังสือ ควรเป็น 75-100 ตารางเมตร (807-1,076 ตารางฟุต) ถ้าบริการประชาชนระหว่าง 10,000-20,000 คน เนื้อที่ควรเพิ่มเป็น 100- 200 ตารางเมตร (1,076-2,152 ตารางฟุต)
ข้อ 107 ควรมีการเพิ่มที่นั่งในบริเวณที่ยืมหนังสือสำหรับเด็ก
ข้อ 108 เนื้อที่สำหรับจัดกิจกรรมสำหรับเด็กควรเป็น 1.5 ตารางเมตร (16 ตารางฟุต) ต่อ 1 ที่นั่ง ถ้าจัดห้องเป็นสโมสรเด็กโดยเฉพาะ ควรมีเนื้อที่ 3 ตารางเมตร (32 ตารางฟุต) ต่อ 1 ที่นั่ง
ข้อ 109 ห้องสมุดประชาชนควรมีเนื้อที่สำหรับจัดนิทรรศการ โดยเพิ่มเนื้อที่ประมาณ 10% ของแผนกบริการทั้งหมด
ข้อ 110 ควรจัดหาเนื้อที่สำหรับจัดเก็บหนังสือจองหรือหนังสือสำรอง
ข้อ 111 ควรจัดหาเนื้อที่สำหรับบุคลากรห้องสมุด นอกเหนือจากบริเวณเนื้อที่ของผู้ใช้ห้องสมุด
ข้อ 112 เนื้อที่สำหรับห้องพักเจ้าหน้าที่และห้องทำงาน ควรเพิ่มประมาณ 20% ของแผนกบริการทั้งหมด หรือคำนวณจากเนื้อที่ 10-12 ตารางเมตร (100-120 ตารางฟุต) ต่อเจ้าหน้าที่ 1 คน
ข้อ 113 เนื้อที่สำหรับสำนักงานใหญ่ หรือกลุ่มห้องสมุด ควรมีขนาด 20 ตารางเมตร (215 ตารางฟุต) ต่อประชากร 10,000 คน
ข้อ 114 ห้องสมุดทุกแห่งควรจัดหาเนื้อที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ ของบุคลากร ห้องสมุด โดยจัดหาเนื้อที่ประมาณ 2-4 ตารางเมตร (22-43 ตารางฟุต) ต่อคน
ข้อ 115 เนื้อที่ในบริเวณแผนกจ่าย-รับ รวมถึงประตูทางบันได ห้องน้ำ ห้องเก็บเสื้อผ้า ที่นั่งพักผ่อน เป็นต้น
ข้อ 116 เนื้อที่ในบริเวณ จ่าย-รับ ควรมีเนื้อที่ 10-15% ของเนื้อที่แผนกบริการ และ 20-25% ของเนื้อที่สำหรับเจ้าหน้าที่ทั้งหมด
ข้อ 117 ห้องสมุดประชาชนต้องเพิ่มเนื้อที่ขึ้นอีกตามส่วน ถ้าให้บริการแก่โรงเรียน โรงพยาบาล หรืออื่น ๆ

หน้าสารบัญ
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com