1633106 การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ
Information Technology Dissemination
with Information Technology Tools

3 (2-2)

บริการแปล (Translation Services)

การแปลเป็นงานที่เกี่ยวข้อง กับการเผยแพร่สารนิเทศมาตั้งแต่ครั้งแรก มีสื่อสารนิเทศปรากฎขึ้นแล้วในโลก กล่าวกันว่าการแปลมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อสมัย 2,000ปี ก่อนคริสตกาล มีหลักฐานว่า จักรพรรดิฮัมมูราบี กษัตริย์ผู้ครองอาณาจักร บาบิโลน ได้ประกาศให้แปลกฎหมายปกครอง ที่ทำให้อาณาจักรของพระองค์ มีระเบียบการปกครองที่ดีที่สุดในโลกสมัยโบราณยุคนั้น เป็นภาษาของชนชาติต่างๆ ที่อยู่ในความปกครองแล้วส่งไปยังเจ้าผู้ครองนครทั้งหลาย (หอมหวล ชื่นจิตร 2527 : 3) ในราวศตวรรษที่ 4 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งอเล็กซานเดรีย เข้าครอบครองดินแดน แถบเมดิเตอเรเนียน ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมเก่าแก่นี้ ได้มีการแปล และตีความ ในพระคัมภีร์เก่า โดยใช้ภาษาพื้นเมืองที่แพร่หลาย เป็นการถ่ายทอดข้อความ จากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง

การถ่ายทอดสารนิเทศด้วยการแปลจึงมีมาแล้วในอดีต และเพิ่มบทบาทความสำคัญ ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม จากชาติหนึ่ง ไปสู่อีกชาติหนึ่ง อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ก่อให้เกิดการถ่ายทอดสารนิเทศ และขจัดปัญหาในเรื่องของภาษาได้ เป็นการสร้างความเข้าใจในสังคม การถ่ายทอดสารนิเทศด้วยการแปล เป็นการถ่ายทอดศิลปวิทยาการของอารยธรรมของ โลกจากสารนิเทศ ด้วยการแปล เป็นการถ่ายทอดศิลปวิทยาการของอารยธรรมของโลกจากสารนิเทศที่มีอยู่ในแต่ละยุด แต่ละสมัย ให้มีการเผยแพร่ถ่ายทอดต่อไป แรกเริ่มของวิชาการในสมัยแรกๆ คงได้แก่ การถ่ายทอดสารนิเทศทางศิลปวัฒนธรรม บทกวีนิพนธ์ ศาสนา จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม และสู่ยุคสังคมข่าวสารในปัจจุบัน

สารนิเทศที่มีจำนวนมากมายมหาศาลกระจัดกระจายตีพิมพ์ด้วยภาษาต่างๆ หากไม่ได้รับการถ่ายทอด ด้วยการแปลก็จะเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้ประโยชน์ การแปลเป็นสื่อที่เชื่อมโยงสารนิเทศที่ปิดกั้นด้วยภาษาให้กลายเป็นเครื่องมือ ที่สื่อความหมายและได้สารนิเทศระหว่างกัน ศูนย์สารนิเทศที่จะให้บริการการแปลสารนิเทศ จะต้องมีเจ้าหน้าที่สำหรับทำการแปลสารนิเทศ จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นบริการแปลจากภาษาต่างประเทศ มาเป็นภาษาไทย คือ จากภาษาอังกฤษมา เป็นภาษาไทยหรือจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย เป็นต้น

การแปลสารนิเทศจะมีกระบวนการแปลประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ (สัญฉวี สายบัว 2528 : 27) คือ

    1. การศึกษาต้นฉบับ การวิเคราะห์ต้นฉบับ การหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับและผู้เขียนต้นฉับ การศึกษางานเขียนอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารนิเทศที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด
    2. การตีความและจับสารนิเทศจากต้นฉบับ และรับมาเป็นของผู้แปลซึ่งจะสื่อต่อไปยังผู้ใช้สารนิเทศอีกทีหนึ่ง
    3. การประเมินผู้ใช้สารนิเทศ การตัดสินใจว่าจะแปลแบบใด เช่น แปลแบบตรงตัวเพื่อรักษารูปแบบการเสนอความหมาย หรือแปลเอาความ และการถ่ายทอดลง เป็นฉบับแปล การเลือกสรรคำ รูปประโยค ประเภทของภาษาที่เหมาะสมกับการเขียน
    4.การทดสอบผลงานแปล เป็นการวิเคราะห์งานแปลที่ทำเสร็จแล้วว่ามีความสมบูรณ์ถูกต้องเพียงใด ก่อนที่จะให้บริการต่อไป ศูนย์สารนิเทศที่ให้บริการแปล มักคิดค่าบริการจากการให้บริการการแปลทั้งนี้ เพราะสารนิเทศจะต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นผู้ให้บริการ และสารนิเทศที่ได้รับการแปลมากที่สุดมักเกี่ยวข้องกับสารนิเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์สารนิเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีนักสารนิเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ให้บริการการแปลโดยตรง

หน้าสารบัญ