1631303 บริการอ้างอิงและสารสนเทศ
Reference and Information Services

ภาคปลาย ปีการศึกษา 2543
3 (2-2)

แนะนำหนังสือบรรณานุกรม

ความหมายของบรรณานุกรม

บรรณานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ เข้าด้วยกัน โดยเรียงลำดับตามอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง แต่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศจัดลำดับตามอักษรตัวแรกของนามสกุล รายละเอียดของชื่อเรื่องมีตามลำดับดังนี้ คือ ชื่อและนามสกุลของผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิพม์(ชื่อเมือง) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ แต่ละรายชื่ออาจมีบรรณนิทัศน์พอสังขเปประกอบด้วย
ความสำคัญของบรรณานุกรม
เนื่องจากขอ้มูลข่าวสาร หรือสารสนเทศมีจำนวนมากขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีเครื่องมือติดตามความเคลื่อนไหว ของสารสนเทศ เพื่อช่วยในการคัดเลือกสิ่งพิมพ์และสื่ออื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยในงานบริการผูอ่านให้สามารถค้นคว้าหาสารสนเทศ ประกอบการศึกษา วิจัย และการหาทรัพยากรสารสนเทศได้อยางรวดเร็วและครบถ้วน เครื่องมือดังกล่าวนี้ก็คือ บรรณานุกรม นั้นเอง
ประโยชน์ของบรรณานุกรม
บรรณานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงมีประโยชน์ ดังที่ พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์ ได้เสนอไว้ 3 ประการ คือ
1. เพื่อช่วยในการหาหนังสือเล่นที่ต้องการ(Locate)
2. เพื่อช่วยในการพิสูจน์ตรวจสอบ(Identify และ Verify)
3. เพื่อช่วยในการเลือกหนังสือ(Selectiom)
ประเภทของบรรณานุกรม
การแบ่งประเภทของบรรณานุกรมตามทัศนะของ สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ เฉพาะที่สำคัญต่างๆคือ
1. บรรณานุกรมสากล(Universal Biblographies)
2. บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน (Current Biblographies)
3. บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ที่ล่วงเวลาแล้ว (Retrospective Biblographies)
4. บรรณานุกรมแห่งชาติ (National Biblographies)
5. บรรณานุกรมเพื่อการค้า (Trade Biblographeies)
6. บรรณานุกรมที่แบ่งตามรูปแบบการเขียน (Form Biblographies)
7. บรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง (Subject Biblographies)
8. บรรณานุกรมของผู้แต่งคนใดคนหนึ่ง (Author Biblographies)
9. บรรณานุกรมของบรรณานุกรม (Biblographies of Biblographies)
10. รายชื่อหนังสือที่ห้องสมุดได้รับ (Accession Lists)
11.รายชื่อหนังสือสำหรับอ่าน (Reading Lists)
จุดมุ่งหมายของบรรณนุกรม
1. เพื่อช่วยในการพิสูจน์และตรวจสอบ (Identification and Verifcation)
2. เพื่อช่วยบอกแหล่ง (Location)
3. เพื่อช่วยในการเลือก (Selection)
วิธีใช้บรรณานุกรม
1. พิจารณาดูว่าเรื่องที่ต้องการเป็นบรรณานุกรมทั่วไปหรือเฉพาะสาขา
2. พิจารณาดูว่าข้อเท็จจริงที่ต้องการเป็นบรรณานุกรมลักษณะใด
3. เลือกใช้บรรณานุกรมให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ต้องการ
หนังสือบรรณานุกรมที่ควรรู้จัก
เรียงร้อยบรรณรัตน์ บรรณานุกรมและดรรชนีพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร รวบรวมโดย ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์ สุกัญญา บำรุงสุข และวิไลวรรณ ปึงตระกูล.- -กรุงเทพฯ: ศุนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๒.
เรียงร้อยบรรณรัตน์นี้ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แบ่งเป็น ๒ ภาคคือ
ภาคแรก เป็นบรรณานุกรมพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แบ่งเป็น ๔ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ เรียงตามลำดับอักษร
ตอนที่ ๒ เรียงตามลำดับปี พ.ศ.
ตอนที่ ๓ เรียงตามลำดับหัวเรื่อง
ตอนที่ ๔ พระราชนิพนธ์ที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศ เรียงภาษาต่าง ๆ ตามลำดับอักษรไดทย ได้แก่ เกาหลี จีน และอังกฤษ และในภาคแรกนี้ได้แสดงรูปภาพปกหนังสือประกอบด้วย
ภาคที่สอง ให้ข้อมูลรายระเอียดเกี่ยวกับชื่อเรื่องพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วแลฃะร้อยกรองทั้งหมดที่ทรงเรียงร้อยรจนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๒ และที่พิมพ์ในพระราชนิพนธ์ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในรูปของหนังสือ ๙๘ เล่ม หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่มิได้อยู่ในหนังสือพระราชนิพนธ์เล่มใด
อนึ่ง ชื่อเรื่องในดรรชนีภาคที่ ๒ นี้ จะมีลักษณะตามพระราชนิพนธ์กล่าวคือบางชื่อเป็นชื่อเรื่อง เช่น ชือบทกวี สารคดี บทความวิชาการ ปาฐกถา หรืออื่นๆ ที่ตีพิมพ์รวมในพระราชนิพนธ์
การลงดรรชนีชื่อเรื่องพระราชนิพนธ์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้แบ่งเป็น ๒๕ หมวด ตามเนื้อหาสาระในเรื่อง แยกเป็นประเภทร้อยกรอง ๙ หมวด ร้อยแก้ว ๑๖ หมวด และเพิ่มหวมดคำนำหนังสืออนุสรณ์งานศพแต่ละหมวดเรียงชื่อพระราขนิพนธ์ตามลำดับอักษร
จัดทำโดย

นายบุญหลาย บำรุงรักษ์
mahab77@hotmail.com

หน้าสารบัญ