***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล/ ผศ.ฟ้อน เปรมพันธ์/ ผศ.วิไลวรรณ สันถวะโกมล/
อาจารย์ราตรี แจ่มนิยม/ อาจารย์นงนุช ถ้วยทอง
โปรแกรมวิชาการศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

องค์ประกอบในการสื่อสาร

การสื่อสารมีองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ส่วน ได้แก่
1. ผู้ส่งสาร คือบุคคลหรือองค์กรที่สร้างสาร หรือ เป็นแหล่งกําเนิดสารแล้วส่งสาร นั้นไปยังบุคคลอื่น โดยการพูด การเขียน การแสดงกิริยาท่าทาง สัญลักษณ์ ฯลฯ ผู้ส่งสารที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร
1.2 มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวที่จะสื่อสารเป็นอย่างดี
1.3 เข้าใจถึงความสามารถและความพร้อมในการรับสารของผู้ที่ตนจะสื่อสารด้วย
1.4 รู้จักใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการสื่อสาร
2. ผู้รับสาร คือบุคคลหรือองค์กรที่รับสารจากผู้สื่อสาร ก่อนสื่อมาถึงและมีการตอบ สนอง ผู้รับสารที่ดีควรมีบทบาง ดังนี้
2.1พยายามรับรู้เรื่องราวข่าวสารอยู่เสมอ
2.2 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการรับสาร
2.3 เป็นผู้รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ได้รวดเร็วและถูกต้อง
2.4 มีสมาธิและให้ความสนใจต่อเรื่องราวที่ได้รับ
สาร คือ เรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ ที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อไปให้ผู้อื่นได้รับรู้ แล้ว เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง สารประกอบ ด้วยส่วนสําคัญ 3 ประการ คือ 1 รหัสของสาร ได้แก่ภาพ สัญลักษณ์ หรือสัญญาณต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้แสดงออก ดังนั้นรหัสของ สารจึงมี 2 ลักษณะ คือ รหัสของสารที่เป็นถ้อยคํา (วัจนภาษา) และรหัสของสารที่ไม่เป็นถ้อยคํา (อวัจนภาษา)
- เนื้อหาของสาร ได ้แก่ มวลความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อ ความเข้าใจร่วมกัน เนื้อหาของสารจะแฝงไปกับรหัสของสาร เมื่อผู้รับสารสามารถ ถอดรหัสของสารได้ ก็แสดงว่าเข้า ใจเนื้อหาของสารซึ่งมี 3 ประเภท คือ เนื้อหาของสารที่เป็นข้อเท็จจริง เนื้อหาของสารที่เป็นข้อคิดเห็น และเนื้อหาของ สารที่เป็นความรู้สึก
- การจัดสาร ได้แก่รูปแบบวิธีการในการนํารหัสมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการ ด้วยการเลือกใช้รหัสของสารที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้คํา การใช้ อากัปกริยาประกอบ การจัดลําดับ ความ การยกตัวอย่าง เป็นต้น สารที่ได้รับการจัดอย่างดี จะทําให้สารมี คุณสมบัติในการสื่อสารได้ดี
- สื่อและช่องทาง คือ ตัวกลางที่เชื่อมโยง ผู้ส่งสารกับผู้รับสารให้ติดต่อเข้าใจกันได้ โดยทั่วไปสารจะถ่าย ทอกเข้าระบบการรับรู้ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่งหรือหลายทางร่วมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นช่องทางของผู้ส่งสารผ่านช่องทางของสารไปสู่ผู้รับสาร เช่น บทความใน หน้าหนังสือพิมพ์ ผู้เขียนบทความคือ ผู้ส่งสาร ผู้อ่านคือผู้รับสาร ข้อความของบทความคือสาร หนังสือพิมพ์ คือสื่อและตาคือช่องทาง เป็นต้น
- ผลที่เกิดจากการสื่อสาร คือการเปลี่ยนแปลงท่าที และพฤติกรรมของผู้รับสาร หากผู้ รับสารไม่มีการ ตอบสนองใด ๆ ถือว่าการสื่อสารยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าผลของการสื่อสารที่เกิดขึ้นตรงตาม จุดประสงค์ของผู้ส่งสารก็ ถือว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ในการสื่อสารแต่ละครั้ง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการสื่อ สารของตนเอง และจะแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ เพื่อให้ อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004