ปลาฉลามวาฬ
ฉลามวาฬ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 60–0 Ma |
|
---|---|
ปลาฉลามวาฬจากไต้หวันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย | |
เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Orectolobiformes |
วงศ์: | Rhincodontidae (Müller and Henle, 1839) |
สกุล: | Rhincodon Smith, 1829 |
สปีชีส์: | R. typus |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
Rhincodon typus (Smith, 1828) |
|
พิสัยของปลาฉลามวาฬ |
ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี[2] ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้[3]
เนื้อหา |
[แก้] ศัพทมูลวิทยา
ปลาฉลามวาฬมีชื่อเสียงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1828 ตามตัวอย่างยาว 4.6 ม.ที่จับได้ด้วยฉมวกในอ่าวเทเบิล ประเทศแอฟริกาใต้ หมอทหารที่ชื่อ แอนดริว สมิท (Andrew Smith) ได้ร่วมกับค่ายทหารของอังกฤษในเคปทาวน์บรรยายและจำแนกปลาฉลามวาฬในปีถัดมา[4] เขาตีพิมพ์ลักษณะรายละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ชื่อ "ฉลามวาฬ" มากจากลักษณะของปลาที่มีขนาดใหญ่เหมือนวาฬและยังกินอาหารแบบกรอกกินเหมือนกันอีกด้วย
ในความเชื่อในศาสนาของชาวเวียดนาม นับถือปลาฉลามวาฬเป็นเทพเจ้า โดยเรียกว่า "Ca Ong" ซึ่งแปลว่า "ท่านปลา"
ในประเทศเม็กซิโกและละตินอเมริกาส่วนมาก ปลาฉลามวาฬถูกรู้จักกันในชื่อ "pez dama" หรือ "domino" มาจากจุดที่เด่นชัดบนตัวมัน ในประเทศเบลีซ รู้จักกันในนาม "Sapodilla Tom" เพราะมักจะพบปลาฉลามวาฬอย่างสม่ำเสมอ ใกล้กับ Sapodilla Cayes ในกำแพงโขดหินแห่งเบลีซ (Belize Barrier Reef)
ในทวีปแอฟริกา ชื่อของปลาฉลามวาฬถูกเรียกกันหลากหลาย: ประเทศเคนยาเรียกว่า "papa shillingi" มาจากตำนานที่ว่าเทพเจ้าได้ขว้างเหรียญเงินลงไปบนตัวปลาฉลามซึ่งได้กลายเป็นจุดของมันในปัจจุบัน ประเทศมาดากัสการ์เรียกว่า "marokintana" หมายถึง "ดาวหลายดวง"
ชาวชวาก็อ้างอิงถึงดวงดาวด้วยเช่นกัน จึงเรียกปลาฉลามวาฬว่า "geger lintang" แปลว่า "มีดาวอยู่บนหลัง" ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า "butanding"
[แก้] การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
ปลาฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามผิวทะเล นอกจากนี้ในฤดูที่มีปรากฏการณ์การรวมตัวกันของแหล่งอาหารใกล้แนวชายฝั่งสามารถพบฉลามวาฬได้เช่นกัน เช่นใน โกลด์เดน สพิต (Gladden Spit) ในประเทศเบลีซ; แนวโขดหินนิงกาโล (Ningaloo Reef) ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย; อูตีลา (Útila) ใน ประเทศฮอนดูรัส; โดนโซล (Donsol), พาซาจาโอ (Pasacao) และ บาตันกัส (Batangas) ใน ประเทศฟิลิปปินส์; ชายฝั่งอิสลา มูเคร์เรส (Isla Mujeres) และอิสลา ออโบซ (Isla Holbox) ในยูคตัน (Yucatan) ประเทศเม็กซิโก; อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอนในประเทศอินโดนีเซีย; โนซี บี (Nosy Be) ในประเทศมาดากัสการ์ รอบแนวโขดหินโตโฟ (Tofo) ใกล้กับอินอัมบันเน (Inhambane)ในประเทศโมซัมบิก, และเกาะมาเฟีย (Mafia), เพมบา (Pemba) และ แซนซิบาร์ ในประเทศแทนซาเนีย ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะพบอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่ก็มีการพบปลาฉลามวาฬใกล้แผ่นดินเช่นกัน อย่างในทะเลสาบหรือเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง และใกล้กับปากแม่น้ำ โดยมีพิสัยจำกัดอยู่ในเส้นรุ้งประมาณ ±30° ความลึกไม่เกิน 700 ม. และท่องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่ว[2]
[แก้] ลักษณะ
ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามที่เรารู้จักกันคือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของฉลามวาฬ อยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ โลมา พะยูน เป็นต้น
[แก้] อาหาร
กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งฉลามวาฬออกจากฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีฉลามอีก 2 ชนิดที่ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละอันดับกับฉลามวาฬ
[แก้] อ้างอิง
- ^ Norman, Brad (2000). Rhincodon typus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is vulnerable.
- ^ 2.0 2.1 Ed. Ranier Froese and Daniel Pauly. "Rhincodon typus". FishBase. http://www.fishbase.org/Summary/SpeciesSummary.php?id=2081. เรียกข้อมูลเมื่อ 17 September 2006.
- ^ Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006
- ^ Martin, R. Aidan. "Rhincodon or Rhiniodon? A Whale Shark by any Other Name". ReefQuest Centre for Shark Research. http://elasmo-research.org/education/topics/ng_rhincodon_or_rhiniodon.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-09-12.
- J. G. Colman (1997). A review of the biology and ecology of the whale shark. Journal of Fish Biology 51 (6), 1219–1234.
- FAO web page on Whale shark
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Whale Shark Photo-identification Library
- Maldives Whale Shark Research Program
- Report a whale shark sighting
- How to photograph a whale shark for mark-recapture research
- Whale shark research discussion forum
- Whale Sharks: Gentle Giants of the Seas
- Whale Shark research in Mozambique
- Whale Shark Project
- Albino whale shark photographed in Galapagos
- A whale shark recorded defecating