กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงอุตสาหกรรม
ราชอาณาจักรไทย
Lanchakon - 043.jpg
ตรานารายณ์เกษียรสมุทร
ที่ทำการ
ธงชาติของไทย
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ภาพรวม
วันก่อตั้ง 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 6,368.3 ล้านบาท (พ.ศ. 2554) [1]
รัฐมนตรีว่าการ หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์, รัฐมนตรี
ผู้บริหาร ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี, ปลัด
ประพัฒน์ วนาพิทักษ์, รองปลัด
ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์, รองปลัด
กฤษณา รวยอาจิณ, รองปลัด
ยงยุทธ ทองสุข, รองปลัด
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
M-INDUSTRY.go.th

กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Industry of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการของไทย ประเภทกระทรวง ดูแลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ของประเทศ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มจากการก่อตั้ง กองอุตสาหกรรม ในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น กองอิสระรัฐพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2480 ถัดมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ และจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" โดยมีส่วนราชการในสังกัด คือ

  • สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตั้งใหม่)
  • กรมโลหกิจ (โอนมาจากกระทรวงมหาดไทย)
  • กรมวิทยาศาสตร์ (โอนมาจากกระทรวงการเศรษฐกิจ)
  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กรมอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจเดิม)

กระทรวงการอุตสาหกรรม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม ใน พ.ศ. 2495[2]

[แก้] ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย[3]

[แก้] หน่วยงานในสังกัด

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น